วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556

กุหลาบสีนํ้าเงิน

พูดถึงดอกกุหลาบ เรามักนึกถึงภาพดอกกุหลาบสีแดง (สัญลักษณ์งานวาเลนไทน์) สีเหลืองชมพูอมส้มหรือโอลด์โรส ม่วง หรือ ขาวบริสุทธิ์ งานพันธุวิศวกรรมไม้ตัดดอก

กุหลาบสีน้ำเงิน, ดอกกุหลาบ, กุหลาบ, ดอกไว้, วาเลนไทน์, วันแห่งความรัก, ความรัก, รักเรายังไม่เคยเห็นบลูโรส หรือดอกกุหลาบสีน้ำเงินแท้ๆ กันเลย ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะธรรมชาติของต้นกุหลาบนั้นไม่อาจสร้างเม็ดสีน้ำเงินได้ นั่นเอง แต่จากเทคโนโลยีด้านยีนที่พัฒนาขึ้นในโลกยุคปัจจุบัน ทำให้เป้าหมายของนักปรับปรุงพันธุ์กุหลาบที่จะสร้างดอกกุหลาบสีน้ำเงินได้มา ถึงแล้ว และไม่ใช่แต่จะอยู่แต่เพียงในห้องปฏิบัติการเท่านั้น บัดนี้กุหลาบดอกสีน้ำเงินได้รับการสร้างเสริมคุณสมบัติให้มีอายุการบานดอก ที่นานขึ้น แถมมีกลิ่นหอม และทนฟรอส หรือน้ำค้างแข็งได้อีกระดับหนึ่ง จีเอมโรส (กุหลาบจีเอม หรือกุหลาบที่ผ่านการเปลี่ยนแปลงยีนแล้วจะเรียกมันว่าอะไรก็ตาม อาจหาชื่อได้ทั่วไปในกลุ่มประเทศอียูปัจจุบัน) เราเคยเขียนถึงฟลอริยีน (Florigene) ไปแล้วว่าเป็นบริษัทที่เป็นผู้สร้างและผู้นำการตลาด เรื่องบูลโรส บริษัทนี้มีกลุ่ม ซันตอรี (Suntory) ของญี่ปุ่นเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือพูดง่ายก็เป็นเจ้าของนั่นแหละ บริษัทนี้มองการณ์ไกลไปถึงผลกำไรมหาศาลที่จะได้รับจากผลการสร้างสรรค์สิ่ง ใหม่แก่ชาวโลก ซึ่งมีศักยภาพการตลาดที่สูง ถึงแม้เศรษฐกิจตกต่ำกำลังก่อตัวละมีผลกระทบไปทั่วโลก แต่เราต้องไม่ลืมว่าธุรกิจไม้ตัดดอกนั้นมีเม็ดเงินหมุนเวียนสูงถึง 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และดอกกุหลาบนั้นมีส่วนแบ่งในด้านการตลาดถึง 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐเลยทีเดียว ผู้ปลูกกุหลาบทุกคนพยายามไขว่คว้าหากุหลาบสายพันธุ์ที่ให้ดอกสีน้ำเงินมา เป็นเวลาหลายร้อยปีแล้ว แต่บริษัทฟลอริยีนนับเป็นบริษัทแรกที่สามารถสร้างกุหลาบพันธุ์นี้ออกมาได้ใน ที่สุด
แต่หลายคนก็ยังขอดค่อนว่า “นี่ก็ยังไม่ใช่บลูแท้ ดูมันจะออกไปทางม่วงเสียซะมาก” แต่ผู้บริหารซันตอรี ก็เชื่อว่ามันใกล้เป้าหมายที่สุดแล้ว สีที่เปลี่ยนแปลงไปในกลีบกุหลาบนั้นเป็นผลมาจากการถ่ายยีนซึ่งพบในแอฟริกัน ไวโอเล็ต ซึ่งควบคุมการสร้างเม็ดสีน้ำเงิน ซึ่งเราเรียกว่าเดลฟินิดีน (Delphinidin) ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงหาทางทำให้ยีนของกุหลาบซึ่งปกติจะสร้างเม็ดสีแดง และส้มเปลี่ยนแปลงไป ในปี พ.ศ. 2539 ฟลอริยีนทำพันธุวิศวกรรมเปลี่ยนแปลงยีนของไม้ตัดดอกไปแล้ว ระยะแรกเขาทำคาร์เนชั่นสีม่วงอ่อนที่เรียกกันว่า มูนดัสท์ (Moondust) ออกมาจวบจนปัจจุบัน เขาผลิตคาร์เนชั่นจำนวนกว่า 75 ล้านดอกได้ส่งขายกระจายไปทั่วโลก บริษัทฟลอริยีนพัฒนางานต่อไปอีก โดยได้ส่งสายพันธุ์ไม้ตัดดอกจีเอ็มเหล่านี้กว่า 2 โหลออกทดสอบในแปลงปลูก หลังจากที่ได้รับอนุมัติแล้ว โดยมี ต้นแววมยุรา (Torinia) สีเหลือง ซึ่งหายากมากในเมืองไทยแม้ในพ.ศ.นี้
วิธีใช้ยีนเทคโนโลยีดังกล่าวกำลังทำให้ได้ลักษณะใหม่ๆ เช่น 

-กลิ่นหอมแนวใหม่ นักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแห่งฟลอริดากำลังทดลองเพื่อให้ได้กลิ่นหอมของกุหลาบหลายกลิ่น ซึ่งเคยสูญหายไปในระหว่างกระบวนการผสมพันธุ์แบบปกติ
-การยืดอายุการบานดอกระหว่างการปักแจกัน นักวิจัยที่ มหาวิทยาลัยฮานโนเวอร์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี กำลังพัฒนาวิธีการที่จะทำให้ยืดอายุการบาน หรือลดความเหี่ยวของดอกบลูเบลส์ (Bulebells) พันธุ์เฟลมมิ่ง เคชีส์ และแคนเตอเบอรี่อยู่
-ปรับปรุงความต้านทาน สำหรับดอกพิทูเนียและพอยเซตเตีย (คริสต์มาส) โดยให้ทนทานต่ออากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง ซึ่งผลทำให้ได้พิทูเนียที่ทนอุณหภูมิ -6 องศาเซลเซียสได้โดยไม่เกิดความเสียหาย แต่ยังไม่อาจผลิตพันธุ์สู่ตลาดได้จนกว่าจะถึงพ.ศ. 2554 สำหรับผู้ที่เป็นลูกค้าดอกไม้ของอียูคงจะพอใจ และคลายความหวาดหวั่นลงได้บ้างเมื่อกฎหมายบังคับให้ต้องติดป้ายเตือนให้เห็น อย่างชัดเจน เช่น ในกรณีของคาร์เนชั่นพันธุ์ มูนไลท์ (Moonlite) ว่า “ผลิตภัณฑ์นี้เป็นคาร์เนชั่นที่ผ่านการผ่าตัดเปลี่ยนแปลงยีน” และ “ไม่เหมาะแก่การนำไปให้มนุษย์หรือสัตว์บริโภค”

"กุหลาบสีน้ำเงิน Blue Rose"
ความหมายของมันคือ
การปฏิเสธ การบอกลา หรือการไม่สมหวัง
เพราะตามตำนาน....มีดังนี้......

นานมาแล้วมีชายหญิงคู่หนึ่ง ทั้งสองรักกันมาก และก็กำลังจะแต่งงานกัน
แต่ก่อนที่จะแต่งงาน ฝ่ายชายสัญญาว่า จะสร้างดอกกุหลาบที่มีสีน้ำเงินขึ้นมา

        ด้วยเหตุผลที่ว่าหญิงที่เค้ารักชอบดอกกุหลาบสีน้ำเงินที่สุด

        เค้าทั้งสองสัญญากันว่าเมื่อเค้าได้สร้างกุกลาบสีน้ำเงินได้เมื่อไหร่

      เค้าจะขอเธอแต่งงานอีกครั้งและจะมอบกุหลาบสีน้ำเงินเป็นของขวัญวันแต่งงาน

        ลองทายสิฝ่ายชายทำได้รึเปล่า??

        คำตอบคือ แน่นอน ทำไม่ได้  ไม่งั้นคงไม่มีความหมายแบบนี้หรอก  - -*!!!

        แล้วเวลาก็ผ่านมาเรื่อยๆ จากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปี
  ที่หญิงสาวรอคอยคนรัก แต่การรอคอยก็สิ้นสุดลงเมื่อการสร้างกุหลาบนั่นไม่สำเร็จ
(ในสมัยนั้น)

    แล้วคุณรู้มั้ยหญิงสาวผู้นั้นรอคอยชายที่ตนรัก  และตายไปอย่างโดดเดี่ยวในที่สุด
    ส่วนชายผู้นั้นเมื่อรู้ว่าหญิงที่เค้ารักตายไป เค้าก็ตรอมใจและก็ตายตามหญิงคนรักไป

        จนผู้คนให้นิยามกับดอกกุหลาบสีน้ำเงินว่า

        "การรอคอยที่ไม่มีวันสิ้นสุด"
        อีกหนึ่งความหมายก็คือ
        " ความรักที่ไม่สมหวัง"

ความหมายเดิม =เป็นไปไม่ได้ (ก่อนนี้ไม่มีอยู่จริงตามธรรมชาติ) เป็นการปฏิเสธอย่างรุนแรง
ความหมายใหม่ = ดอกไม้แห่งความสมหวัง  ดอกไม้นำความสุข เช่นเดียวกับ
"นกสีน้ำเงิน" (หลังผลิตได้จากการพัฒนาทางวิศวพันธุกรรม)
กุหลาบพันธ์ใหม่.. "สีน้ำเงิน" ตัดต่อพัธุกรรมสำเร็จแล้ว
บริษัทแห่งหนึ่งในญี่ปุ่นได้ใช้เทคนิคตัดต่อพันธุกรรม
สร้างกุหลาบสีน้ำเงินเป็นผลสำเร็จ ในปีหน้าจะเริ่มมีขายทั่วไป

เอกชนรายนี้ก็คือซันทอรี ผู้ผลิตสุรารายใหญ่ โฆษกของบริษัทบอกว่า
ทางบริษัทคาดว่าจะขายกุหลาบน้ำเงินได้ปีละหลายหมื่นดอก

โฆษก คาซูมาซา นิชิซากิ บอกว่าราคาของมันจะค่อนข้างแพง ฉะนั้นทางบริษัทจะจับกลุ่มลูกค้าระดับบนที่ต้องการซื้อเป็นของขวัญ แต่จะขายราคาเท่าไหร่
และจะมีชื่อการค้าว่าอย่างไร ทางบริษัทยังไม่ได้กำหนด

ซันทอรี ยังได้ไปทดลองปลูกกุหลาบน้ำเงินนี้ในออสเตรเลียและสหรัฐด้วย
เพื่อขออนุญาตออกวางจำหน่ายในอนาคต แต่ยังไม่ได้กำหนดวันเปิดตัวในประเทศทั้งสอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น